08-6569-1915
Monday-Sunday 7:00AM - 6:00PM
ผ้าเบรกหรือตัวช่วยห้ามล้อ ความสำคัญต่อการลดความเร็วของรถยนต์ เพื่อหยุดรถ หรือหลบอุปสรรค
เนื่องจากผ้าเบรกมีหลายประเภท แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์การใช้งาน จึงจำเป็นต้องเลือกผ้าเบรกมาใช้ให้ถูกต้อง การใช้งานจึงปลอดภัย เสียงไม่ดัง ในน้อย ไม่กินจาน
ไม่จำเป็นครับ , จานเบรกนั้นไม่จำเป็นต้องเจียรทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าเบรก โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ้าเบรกก่อนที่จะหมด นั้นหมายความว่าเปลี่ยนตอนที่ผ้าเบรกยังมี แต่มีน้อย ทำให้แผ่นหลังผ้าเบรกไม่ขูดสีกับจานเบรก ไม่เกิดรอย เพราะฉะนั้นสามารถใช้งานได้ปกติ
ในที่นี้รวมไปถึงลักษณะของจานเบรกที่เป็นร่อง รอบจานเป็นวงกลมเสมอดีนั่นก็ยังสามารถใช้ต่อได้
รูปด้านบนคือ จานเบรกเป็นรอยเกิดจากการใช้ผ้าเบรกจนหมดไม่เหลือ ทำให้เหล็กฝาหลังผ้าเบรกขูดขีดเป็นรอย หากจานเบรกเป็นลักษณะนี้ต้องเจียรออกให้จานเรียบเท่านั้นแล้วจึงเปลี่ยนผ้าเบรกชุดใหม่เข้าไปใช้งาน
การเจียรจารเบรกคือการซ่อมแซม ปาดเอาหน้าจานเบรกที่เป็นรอยไม่เรียบเสมอออกไป ให้หน้าจานเบรกเรียบใส เพื่อรองรับการจับของผ้าเบรกให้ดี แต่ผลของการเจียรจานเบรกคือทำให้จานบางลงไปอย่างน้อยก็หนึ่งมิลลิเมตร หรืออาจจะมากกว่านั้น ก็ตามแต่ว่าจานเบรกมีรอยลึกขนาดไหน กล่าวว่าลึกมากก็ต้องเจียรมาก
เมื่อจานเบรกถูกเจียรทิ้งไป ทำให้ขนาดของจานเบรกนั้นบางลง จะส่งผลทำให้จารเบรกคดง่ายเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน เมื่อจานเบรกคด ก็ต้องเจียรให้เรียบเสมอ ยิ่งเจียรยิ่งบาง เมื่อบางก็คดง่าย เป็นหนึ่งสาเหตุของการเบรกแลวพวงมาลัยสั่น
หากเรายังฝืนใช้งานจานเบรกที่บางนี้ต่อไป ผลเสียหายที่สุดในบางราย อาจจะไปถึงจานเบรกแตกกันเลยทีเดียว
เพราะฉะนั้นแนะนำกันว่า เมื่อเห็นว่าผ้าเบรกใกล้หมด ควรรีบเปลี่ยนใช้ชุดใหม่ อย่าแช่ใช้นาน มิฉะนั้นอาจจะส่งผลเสียหลายด้าน และการแก้ไขปัญหาจะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น
หลายครั้งเราอาจเคยเห็นว่าที่ล้อรถยนต์มีฝุ่นสีม่วงเกาะอยู่มาก บางทีก็เป็นคู่หน้า หรือคู่หลัง ในหลายครั้งก็เป็นทั้งคู่หน้าหลังเลย ขึ้นอยู่กับการเลือกประเภทของผ้าเบรกติดตั้ง
เรื่องของฝุ่นเบรกนี้ เกิดจากประเภทของผ้าเบรกที่มีส่วนผสมทำให้ผ้าเบรกนั้นสลัดตัวหลุดออกมาเมื่อเราทำการกดเบรก เพื่อชะลอรถยนต์
ซึ่งเบรกประเภทนี้จะทำงานได้เป็นอย่างดีที่ความเร็วสูง เบรกดูดเท้าไม่เกิดการดื้อ แม้ในทุกเช้าอาจจะมีเสียรบกวนอยู่บ้าง แต่เรื่องของผ้าเบรกที่หมดเร็ว ก็ยังเป็นเอกลักษณ์ ของผ้าเบรกประเภทนี้อยู่ดี
ผ้าเบรกถูกสั่งให้เริ่มทำงานด้วยของเหลว เมื่อเราทำการเหยียบเบรกน้ำมันจะถูกอัดในเข้าระบบด้วยความดันสูงทำให้ผ้าเบรกเริ่มจับจานเบรก และจังหวะนี้เองทำให้เกิดเสียง
เสียงที่ดังจากผ้าเบรกจะแบ่งเป็นสองลักษณะ คือ เสียงลากยาว(จี๊ดๆ) และเสียงดังเป็นจังหวะ(ครืดๆ เหมือนเสียงโลหะสีกัน) สองเสียงนี้สร้างความรำคาญได้น่าดูเลยล่ะครับเรามาดูที่มาของเสียงแต่ละแบบกันเถอะครับ
เสียงลากยาว(จี๊ดๆ) มีชื่อทางภาษาอังกฤษว่า Brake squeaking เป็นเสียงที่มีความแหลมสูง เสียดสีสาเหตุของการเกิดเสียงนี้คือ
1. ผ้าเบรกใกล้หมด ในผ้าเบรกของรถหลายๆรุ่นโดยเฉพาะรถญี่ปุ่นที่เราใช้งาน เห็นกันอยู่ทุกวันชุดของผ้าเบรกจะมีตัวเตือน หรือ Brake wear indicator เมื่อผ้าเบรกถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน การสึกหรอเริ่มมากขึ้นจนผ้าเบรกเริ่มบางจนเหล็กตัวนี้ไปสีกับจานเบรกทำให้เกิดเสียง จี๊ดๆนี้ขึ้นครับ แต่ถ้าเป็นในรถยนต์หรู ตัวเตือนผ้าเบรกนี้จะเป็นแบบเซนเซอร์ครับ
2. แผ่นรองกันเสียง หรือชื่อทางภาษาอังกฤษเรียกว่า Brake shim เจ้าแผ่นตัวนี้จะประกบอยู่ที่ชุดผ้าเบรกเป็นคู่ใน-นอก จะมีจำนวน 2-4 แผ่นหากเป็นแบบ4แผ่น คู่นอกจะเป็นแผ่นประกบ Brake shim (แต่หากรถรุ่นที่พี่ๆใช้งานอยู่มีเพียงสองแผ่นเท่านั้น ก็ไม่ต้องไปหามาใส่เพิ่มนะครับ เพราะว่าวิศวกรเขาออกแบบมาอย่างนั้นอยู่แล้ว) หน้าที่ของBrake shim นี้เอาไว้สำหรับลดเสียงเสียดสีจากการทำงานของเบรก แต่ขณะเดียวกันยังเป็นส่วนช่วยลดอุณหภูมิที่เกิดจากการเสียดสีอีกด้วย
3. รางเลื่อนหูผ้าเบรก ภาษาอังกฤษเรียกว่า Pad retainer ชิ้นส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นรางให้กับผ้าเบรกเลื่อนเข้าออกเพื่อทำหน้าที่ชะลอการหมุนของจานเบรก ง่ายต่อการสกปรก และทำความสะอาดจากภายนอกค่อนข้างยาก ความสกปรกนี่เกิดจากเมื่อเราใช้งานรถยนต์มาเป็นเวลานาน ผ่านฝน ผ่านฝุ่น หรือดินต่างๆ ก็จะเข้ามาจับเกาะอยู่ที่ชิ้นส่วนนี้ ทำให้รางนี้ฝืด สะดุด และทำให้การคายผ้าเบรกออกไม่สุดและทำให้จานเบรกหมุนสีกับผ้าเบรก
4. ปอกเลื่อน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sliding pin มีหน้าที่เป็นปอกบังคับทางเลื่อนของชุดผ้าเบรก เข้าออกเพื่อสัมผัสกับจานเบรก ปอกเลื่อนนี้มีลูกยางคลุมเพื่อป้องกันฝุ่น และยังลดปฏิกิริยาทางเคมี ที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน ตามปกติจะมีจาระบีชโลมอยู่รอบตัวเพื่อลดแรงเสียดทานขณะทำงาน แต่เมื่อใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้ลูกยางครอบปอกเลื่อนฉีกขาดหรือชำรุดเสียหาย ทำให้เกิดอากาศภายนอกนำพาฝุ่นเข้าไปยังปอกเลื่อน อีกทั้งยังทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี กลายเป็นความฝืดจึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของเสียงเมื่อเราทำการเบรก
เสียงดังเป็นจังหวะ(ครืดๆ) หรือมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Grinding มีสาเหตุเกิดขึ้นดังนี้
1. ผ้าเบรกหมด เมื่อผ้าเบรกถูกใช้งานจนหมด จึงทำให้โครงของผ้าขูดสีกับจานเบรกจึงทำให้เกิดเสียงดังกล่าว ผลร้ายที่สุดเลยคือกินจานเบรก ทำให้จานเบรกเป็นรอย หากรอยนั้นมีไม่ลึกมากแค่เจียรก็หายครับ แต่หากเป็นลึกมากแล้วล่ะก็อาจจะต้องเปลี่ยนจานเบรกเลย
สำหรับรถยนต์ที่เป็นดรัมเบรก ก็มีโอกาสเกิดได้เหมือนกันนครับ หากเสียงที่ว่านี้เกิดขึ้นกับดรัมเบรกแล้วให้รีบตรวจสอบ เนื่องจากเป็นผ้าเบรกที่ต้องถอดล้ออกมาถึงจะเห็น หรือเพื่อความสะดวกและมั่นใจ เดินทางเข้ามาให้ทีมงานช่างตรวจสอบได้เลยครับ
2. จานเบรกคด เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เวลาเบรกเกิดเสียงครับ จานเบรกที่ไม่เรียบเสมอมักจะไปสัมผัสกับผ้าเบรก ทำให้เกิดเสียงแม้ว่าเราจะไม่ได้เหยียบเบรกก็ตาม หากไม่คดหนักให้ทำการเจียรออกก็หายครับ แต่หกเป็นหนักผมแนะนำเปลี่ยนจานใหม่คุ้มกว่าครับ เพราะหากเจียรเยอะมาก จานเบรกบางเกินส่งผลทำให้จานเบรกไม่สามารถรับอุณหภูมิได้มากเพียงพอ ก็จะทำให้คดอีก คราวนี้จะคดรุนแรงมากจนอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ครับ
อย่างไรก็ตาม พี่ลูกค้าทุกท่านสามารเข้ารับบริการตรวจสอบ หรือเปลี่ยนผ้าเบรกอย่างถูกวิธีได้ที่ร้านยางเจริญรุ่งเรือง